Statistiche web

ปากช่อง แถลงข่าวจัดงานน้อยหน่าและของดีปากช่องประจำปี 67

18 มิถุนายน 2024 | อาสาไทยยืนยัน

นายคณัสชนม์ ศรีเจริญ  นายอำเภอปากช่อง นายกกิ่งกาชาดอำเภอปากช่อง จ.นครราชสีมา ร่วมกับ นายบัณฑิต เกิดมงคล เกษตรอำเภอปากช่อง , นางสาวพรรณิภา ไกรรักษ์ พัฒนาการอำเภอปากช่อง , ดร.วัชรี ปรัชญานุสรณ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา นายพรประดิษฐ์ นันขุนทด ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอปากช่อง นายเกียรติศักดิ์ ผาสุข รองนายกกิ่งกาชาดอำเภอปากช่อง สมาชิกกิ่งกาชาด พัฒนาชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มสตรี กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เทศบาล อบต. กลุ่มเกษตรกรชาวสวนผลไม้, เกษตรกร ชาวสวนผลไม้ ร่วมแถลงข่าวการจัดงานน้อยหน่าและของดีปากช่อง ประจำปี 2567 ณ ศาลาประชาคม ที่ว่าการอำเภอปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยการจัดงานมีกำหนด 12 วัน 12 คืน ตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน 67 ถึง วันที่ 10 กรกฎาคม 2567 ณ สนามข้างโรงทอกระสอบ ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

ในวันที่ 29 มิถุนายน 67 วันเริ่มงาน ตั้งแต่เวลา 09.00 น.- 12.00 น.การประกวดพืชผลทางการเกษตร น้อยหน่า ข้าวโพดหวานสด การประกวดจัดกระเช้าผลไม้สด ประกวดผัดหมี่โคราช ประกวดตำส้มตำลีลา ประกวดขบวนแห่รถผลไม้ ผลิตจภัณฑ์โอท็อป  เวลา 18.00 น.นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม  ผวจ.นครราชสีมา เป็นประธานเปิดงาน น้อยหน่าและของดีปากช่อง มอบรางวัลผู้ชนะการประกวดผลไม้กับเกษตรกร และเป็นประธานพิธีตักลูกปิงปองปฐมกฤษ์ตลับมัจฉานาวากาชาด เพื่อหากองทุนช่วยเหลือ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ยากไร้ ผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ

นายคณัสชนม์ ศรีเจริญ  นายอำเภอปากช่อง กล่าวว่า เดิมทีกำหนดจัดงานน้อยหน่าและของดีปากช่อง ตั้งแต่ วันที่ 28 มิถุนายน – วันที่ 9 พฤษภาคม 67 ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น เนื่องจากในวันที่ 28 มิถุนายน ตรงกันการจัดงานผลไม้ทุเรียน GI ปากช่อง ที่หน้า อบต.หนองน้ำแดง จึงได้แถลงข่าวเลื่อนการจัดงานประจำปี น้อยหน่าและของดีปากช่อง ไป 1 วัน คือ ตั้งแต่วันที่ 29 มิ.ย.ถึง 10 พ.ค.67 การจัดงานน้อยหน่า ถือเป็นงานเทศกาลผลไม้ นานาชนิดที่กำลังมีผลผลิตในช่วงนี้  โดยเฉพาะน้อยหน่า ที่มีพื้นที่ปลูกมากกว่า 2,000 ไร่ จะมีการปลูกน้อยหน่า 3 สายพันธุ์ เช่น น้อยหน่าพันธุ์หนัง เนื้อเหนียวนุ่มหวาน  พันธ์ฝ้าย เนื้อขาวหวานนุ่ม และน้อยหย่าพันธุ์เพชรปากช่อง ลูกโต กลิ่นหอมกวาน 

วัตถุประสงค์ในการจัดงาน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอปากช่อง ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวน นำผลผลิตออกมาจำหน่ายในช่วงฤดูกาล  และส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ อ.ปากช่อง รายได้ส่วนหนึ่งมอบให้กับกิ่งกาชาดอำเภอปากช่อง เป็นกองทุนนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย ผู้ป่วย ผู้พิการ และผู้ยากไร้  คาดว่าจะมีเงินหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท อย่างแน่นอน 

ภาพ-ข่าว ปัญญา ปากช่อง

Share This