นายกาญจนวิช บัวสว่าง อาจารย์จากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 25 นราธิวาส ได้ร่วมกับเกษตร จ.นราธิวาส นำวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านแปรรูปผลไม้ต่างๆ มาทำการอบรมชาวบ้านซึ่งเป็นเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจในชุมชนต่างๆในพื้นที่อำเภอต่างๆของ จ.นราธิวาส ซึ่งบางคนเป็นเกษตรกรเจ้าของสวนผลไม้ โดยเฉพาะมังคุดที่ขณะนี้ราคาเริ่มตกต่ำ จากผลผลิตที่ออกสู่ท้องตลาดเป็นจำนวนมาก จากเดิมราคากิโลกรัมละ 50 ถึง 70 บาท ปัจจุบันเหลือเพียงราคากิโลกรัมละ 20 บาท และมีแนวโน้มราคาตกต่ำอย่างต่อเนื่อง และเป็นการสกัดกั้นการเอาเปรียบของพ่อค้าแม่ค้าที่เดินทางมารับซื้อกดหรือโก่งราคา จึงได้อาศัยใต้ถุนอาคารเอนกประสงค์ของ ห้างหุ้นส่วนจำกัดนาราโกลบอล อินโนเวชั่น กรุ๊ป เลขที่ 100/5 ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส เป็นสถานที่ฝึกอบรม ซึ่งการอบรมเกษตรกรเจ้าของสวนผลไม้ในครั้งนี้ ได้เดินทางมาจาก อ.รือเสาะ สุไหงโก-ลก ยี่งอและเจาะไอร้อง จำนวนกว่า 60 คน โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญได้มีการอบรมทางวิชาการพร้อมทั้งได้ลงมือปฏิบัติไปพร้อมๆกันในครั้งนี้
ซึ่งการทำขนมพายมังคุดในครั้งนี้ ได้มีการแยกปฏิบัติออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.ทำไส้พายมังคุด และ 2. การทำแป้งพายหรือแม่พิม์ ซึ่งการทำไส้พายก็ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด โดยนำไขไก่ น้ำตาลปี๊บ เนื้อมังคุดที่แกะเมล็ดออกแล้วมาปั่นในเครื่องบด แป้งข้าวจ้าว แป้งสาลี กระทะและเกลือ มาผสมให้เข้ากันในอัตราส่วนที่เหมาะ แล้วนำไปใส่ในกระทะทองเหลือง แล้วตั้งไฟอ่อนๆกวนไปประมาณ 40 นาที เมื่อเหนียวหรือหนืดตามต้องการเป็นอันว่าสิ้นสิ้นกระบวนการทำไส้พาย
จากนั้นต้องทำแป้งหรือแม่พิมพ์ ด้วยการใช้แป้งว่าว มาการีน น้ำตาลทราย เกลือ น้ำเย็นและไข่แดง นวดให้เข้ากัน เมื่อได้ที่ใช้ลูกกลิ้งรีดแผ่นแป้งให้บางพอประมาณ จากนั้นนำไปติดกับแม่พิมพ์ที่เตรียมไว้ซึ่งเป็นลักษณะของรูปทรงเรือโดยรอบ แล้วนำไส้พายมังคุดที่เราตั้งไฟเสร็๗เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ใช้ช้อนตักใส่ลงในแม่พิมพ์พร้อมทั้งได้ใช้แป้งตัดตกแต่งบนหน้าพายให้มีความสวยงาม แล้วนำไปใส่ตู้อบ ประมาณ 40 นาที จนพายสุกสามารถนำมารับประทานได้เลย
ซึ่งต้นทุนการทำพายมังคุด 1 ชิ้น ประมาณตกชิ้นละ 10 กว่าบาท แต่หากนำมาจำหน่ายตามท้องตลาดจะจำหน่ายได้ในราคาชิ้นละ 25 บาท ซึ่งถือว่าเป็นทางเลือกในการเพิ่มมูลค่าของมังคุดที่ราคาตกต่ำ ที่บางปีจะมีราคาเพียงกิโลกรัมละ 5 บาทเท่านั้น ซึ่งทางนายกาญจนวิช อาจารย์จากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 25 นราธิวาส ได้มีแนวคิดที่จะต่อยอดมังคุดหรือผลไม้ต่างๆตามฤดูกาลที่มีราคาตกต่ำ นำมาแปรรูปเป็นขนมหรืออาหารประจำ จ.นราธิวาส โดยเฉพาะพายมังคุดจะมีการต่อยอดในโอกาสต่อไป ด้วยการทำพายเป็นรูปลักษณ์ของเรือกอและ ซึ่งถือว่าเป็นการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม และอัตลักษณ์ถิ่นของจังหวัดชายแดนภาคใต้
ด้านนายกาญจนวิช อาจารย์จากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 25 นราธิวาส กล่าวว่า สำนักงานเกษตรจังหวัดนราธิวาส ให้ครูมาสอนการแปรรูปมังคุดที่เป็นผลไม้ของนราธิวาส ที่ช่วงนี้ออกเยอะเอาแปรรูปสอนให้กับชาวบ้านกลุ่มรัฐวิสาหกิจชุมชนในอำเภอยี่งอ อำเภอสุไหงโกลก อำเภอเจาะไอร้อง จะได้เป็นอาชีพเสริมทำให้เพิ่มมูลค่าทางการเกษตรต่อยอดอาชีพอีกอย่างนึ่ง จากมังคุดกิโลละ 20 บาท เรานำเนื้อในของมังคุดมาทำการกวนทำพายเรียกว่า พายมังคุด ทำให้เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร
ภาพ-ข่าว/ซาการียา/จ.นราธิวาส