Statistiche web
อุทัยธานี สุดทึ้งนวัตกรรมใหม่ จากใบอ้อยกลายเป็นของใช้ เสื้อ กระเป๋า หมวกสวยงาม

ที่ไร่อ้อย หมู่ 12 ตำบลทัพหลวง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ร่วมกันเปิดงานรณรงค์ลดการเผาอ้อย  เพิ่มมูลค่าให้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร จากเส้นใบ จากใบอ้อย สู้เส้นด้ายที่ใช้แปรสภาพสู่ขั้นตอน ให้เป็นผ้าพื้นใหญ่ทำเป็นเสื้อ กระเป๋า หมวก กลายเป็นนวัตกรรมใหม่สู่ชุมชน เพื่อรณรงค์ลดการเผาอ้อย สร้างรายได้ให้กับชุมชน  

โดยนายธีรพัฒน์ คัชมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี พลตำรวจตรี ณรงค์เดชศ์ ศักดิ์สมบูรณ์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุทัยธานี พร้อมนายชนะ อัษฎาธร กรรมการผู้จัดการบริษัทไทยรุ่งเรือง คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัณย์ จันทร์แก้ว อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร พร้อมด้วย น.ส.ไข่มุกข์ เลาหะกาญจนศริ ประธานวิสาหกิจชุมชนบ้านใหม่หนองแกทัพหลวง  ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน และชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมในงาน จากเส้นใบ สู้เส้ยใยผลักดันนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ของบริษัทไทยรุ่งเรือง คอร์เปอเรชั่น ณ.ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงหมู่ 12 ต.ทัพหลวง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี

โดยกิจกรรม น.ส.ไข่มุกข์ เลาหะกาญจนศริ ประธานวิสาหกิจชุมชนบ้านใหม่หนองแกทัพหลวง ได้บรรยายการนำใบอ้อย สู้กระบวนการผลิตเส้นใย  การจัดนิทรรศการ แสดงผลงานนวัตกรรมและการให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของเส้นใยจากธรรมชาติและนับเป็นหนึ่งของความสำเร็จในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามยุทธศาสตร์ของจังหวัดอุทัยธานี ตามนโยบายของบริษัท ไทยรุ่งเรืองคอร์ปอเรชั่นจำกัด และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายชนิดเช่น เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และวัสดุตกแต่งภายในให้กับนายธีรพัฒน์ คัชมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานีพร้อมหน่วยงานข้าราชการ การแปรรูปจากการนำใบอ้อยสดมาแปรสภาพเป็นของใช้ โดยเริ่มจากนำใบอ้อยสด แล้วนำมาฉีกและหมักเส้นใยด้วยน้ำหมัก สุดท้ายมาขยี้ตากให้แห้ง จนกลายเป็นเส้นฝอยและนำไปเข้าเครื่อง ถึงนำมาเรียงให้เป็นเส้น ถึงจะนำมาเย็บ

หลังจากนั้น ผู้สู้ข่าวได้ดินทางไปยัง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านใหม่หนองแกทัพหลวง บริเวณภายในวัดบ้านใหม่หนองแก โดยมีนายธนบรรณ รอดเพชร นักวิชาการส่งเสริม สำนักเกษตรอำเภอบ้านไร่ พร้อมน.ส.ไข่มุกข์ พร้อมกับกลุ่มสมาชิก ได้สาธิต ในการตัดใบอ้อย โดยมีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ซึ่งขั้นตอนแรก ได้มีการคัดเลือกตัดใบอ้อย เพื่อนำไปทำการหมัก ส่วนขั้นตอนที่ 2 นำใบอ้อยมาฉีกใบ โดยการฉีกนำแกลนกลางออก ให้เหลือแต่ใบ หลังจากนั้นนำใบมาม้วน โดยไม่ต้องแน่น เพื่อให้น้ำเข้าทุกซอกทุกมุมของใบ  หลังจากที่นำไปหมัก โดยก่อนหมักนำใบอ้อยไปชั่งกิโลก่อน และมีอัตราส่วนของน้ำกี่ลิตร น้ำหมักกี่ลิตร นำลงใสถังแล้วปิดฝาแช่ไว้ หลังจากนั้น 30วันเปิดดูลักลับใบอ้อยในถังแช่ หลังจากนั้นแช่ใบอ้อยจนครบ 3 เดือนก็เปิดดู และขยี้ใบ ว่าเป็นเส้นแล้วรึยัง หลังจากเส้นใช้ได้ก็นำมาออกจากถัง แล้วขยี้ แล้วซักด้วยน้ำเปล่าจนสะอาด แล้วก็นำต้มในกระทะ โดยใช้เวลา 45 นาที ต้มเสร็จแล้วนำไปล้างน้ำ 2-3 น้ำ แล้วนำมากระจาย ตากให้เส้นแห้ง หลังจากแห้งก็รวบร่วมนำส่งให้กับ อาจารย์ทีมารับต่อไปแปรรูปเป็นเส้นใย ในราคากิโลละ 500 บาท หลังจากนำรายได้ทั้งหมดมาแบ่งให้กลับสมาชิกทุกคน

ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัณย์ จันทร์แก้ว  คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ และออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กล่าวว่าหลังจากได้เส้นด้าย ใบอ้อยตามที่ต้องการแล้ว นำเส้นใยใบอ้อยมาประสมกับใยฝาย ตามอัตราส่วนทีจำไปเป็นเครื่องแต่งกาย คือใบอ้อย 20 เปอร์เซ็นต์ และฝายประมาณ 80เปอร์เซ็นต์ หลังจากนำมาให้ทางกลุ่มท่อผ้าบ้านภูจวง มาทำเป็นเส้นด้าย หลังจากที่เป็นเส้นด้ายแล้วนำมาย้อม โดยจะย้อมเป็นสีธรรมชาติ โดยทางท่านสนใจผ้าใบอ้อย สามรถ ไปทางเฟส นัฐาผ้าใบอ้อย มีทั้งผ้าผืน ราคาเริ่มต้นหลักร้อย มีกระเป๋า รองเท้า หมวก เสื้อผ้า และอื่น  โดยราคาที่ไม่แพง เสื้อเชิดราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 400 -500 บาท

@chaijexu

อุทัยธานี สุดทึ้งนวัตกรรมใหม่ จากใบอ้อยกลายเป็นของใช้ เสื้อ กระเป๋า หมวกสวยงาม

♬ เสียงต้นฉบับ - Chaij Exu - Chaij Exu

ภาพ-ข่าว พชร พัสกุล สมาคมสื่อมวลชนอุทัยธานี

Share This