จบทริปแสวงบุญวัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.นครปฐม ซึ่ง พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ หลวงพี่น้ำฝน เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.นครปฐม ได้นำคณะสงฆ์วัดไผ่ล้อม ศิษยานุศิษย์ เดินทางไปยังประเทศอินเดีย โดยเริ่มที่เมืองคยา เพื่อกราบนมัสการสถานที่ตรัสรู้ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เจดีย์พุทธคยา พระพุทธเมตตา วัดเวฬุวัน พระมูลคันธีกุฏีบนยอดเขาคิชกูฏ สาลวโนทยานสถานที่ปรินิพพาน มกุฏพันธเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิง ธัมเมกขสถูป สถานที่แสดงธรรมเทศนา โดยใช้เวลา 6 วัน ซึ่งมีศิษยานุศิษย์ ได้ขอแสดงเจตนาด้วยการบวชที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ อันเป็นสถานที่ตรัสรู้แห่งพระพุทธองค์
โดยตลอดเส้นทางการเดินทางยังนับจากวันที่ 4 หลังจากได้รายงานการเดินทางไปใน 3 วันแรก ทัพสายบุญวัดไผ่ล้อม ได้เดินออกจากเมือง ราชคฤห์ เข้าสู่เมืองกุสินารา เพื่อเข้ากราบสักการะสถานที่ปรินิพพาน ณ สาลโนทยาน ซึ่งเดิมเป็นอุทยานของพระเจ้ามัลละกษัตริย์ มีต้นสาละปลูกเป็นสัญลักษณ์หลายต้น และเข้ากราบนมัสการองค์ปรินิพพานสถูป ซึ่งอยู่ติดกับปรินิพพานวิหารพระพุทธปางไสยาสน์ เสด็จดับขันปรินิพพานขนาดใหญ่ ด้วยการสมาธิจิตภาวนา และชม มกุฏพันธเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิง พระสรีระของพระพุทธเจ้า ซึ่งปัจจุบันเป็นเจดีย์ทรงกลม และกราบสักการะ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ และออกเดินทางไปยังเมืองพาราณสี และล่องเรือในแม่น้ำคงคามหาทนี
เพื่อชมสถานที่เผาศพโดยชาวอินเดีย เชื่อกันว่าแม่น้ำคงคาจะเป็นแม่น้ำสายพิเศษและสำคัญเนื่องมาจากเป็นแม่น้ำแห่งสรวงสวรรค์เป็นบันไดเชื่อมระหว่างโลกพิภพและการกลับสู่สวรรค์ดังปรากฏตำนานที่หลากหลายพร้อมทั้งเล่าขานทำให้ชาวอินเดียมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าจนถือเป็นคำขอหรือคำสั่งเสียครั้งสุดท้ายขอให้ได้มานอนตายที่ข้างริมฝั่งแม่น้ำคงคา หากไม่เป็นได้ดังที่หวังขอกระดูกซึ่งเป็นของติดร่างกายนี้ได้มาถูกลอยลงในแม่น้ำคงคาเพื่อปลดเปลื้องบาปทั้งปวงก่อนกลับคืนสู่สวรรค์ตามความเชื่อนั้น โดยเฉพาะแม่น้ำคงคาที่ไหลผ่านเมืองพาราณาสี รัฐอุตรประเทศ แห่งนี้เท่านั้น ว่ากันว่า จำนวนศพที่ถูกหามกันมาในแต่ละวันตลอด 24 ชั่วโมงทำให้เมืองพาราณาสี ได้ถูกขนานนามว่า “นครแห่งแสงไฟ” เพราะสาเหตุที่ว่าแสงไฟอันเกิดจากการเผาศพที่ถูกจุดต่อเนื่องกันไม่มีวันดับเป็นระยะเวลากว่า 5,000 ปีและถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เมืองแห่งความตาย” โดยมีพิธีการบูชาไฟ หรือพิธีอารตี ที่ชาวฮินดู ซึ่งเป็นการถวายไฟต่อพระผู้เป็นเจ้า โดยทุกค่ำคืนจะมีผู้คนนับหมื่นเข้ามาชมพิธีและความงดงามที่ริมแม่น้ำคงคง
ล่วงเข้าสู่วันที่ 5 ของการเดินทาง คณะทัพบุญได้เดินทางไปยัง ธัมเมกสถูป สถานที่แสดงพระธรรมเทศนา โดยสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่สอง ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ.269-331) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงสุด เปิดด้านล่างก็หินสูงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งทำเป็นช่องแต่ละช่องประดิษฐานพระพุทธรูปแบบต่างๆช่องส่วนใหญ่รอบพระสถูปนั้นมีแปดช่องอันหมายถึงมรรค์มีองค์แปดประการ ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างสถานที่แห่งนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์ และมีเสาร์พระเจ้าอโศกที่มีความสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง หลังจากนั้นได้เดินทางเพื่อมุ่งหน้าสู่เมืองพุทธคยา เข้าสู่วันที่ 6 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของทริปแสวงบุญ หลวงพี่น้ำฝน ได้นำคณะเข้ากลับมาที่มหาเจดีย์พุทธคยา และเข้ากราบนมัสการพระพุทธเมตตา ก่อนทำพิธีลาสิกขาให้กับศิษยานุศิษย์ ที่ได้บวชศึกษาเส้นทางทำ พร้อมกราบสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวงที่ได้เดินทางมาทั้งหกวัน เป็นการจบพิธี
หลวงพี่น้ำฝน เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม กล่าวว่า ในเส้นทางของการแสวงบุญร่วมกันระหว่างคณะสงฆ์และศิษยานุศิษย์ เป็นหนี่งในการเรียนรู้และศึกษาเส้นทางของการกำเนิดพระพุทธศาสนา ซึ่งนับจนถึงวันนี้ได้ล่วงมาแล้วล่วงเข้าสู่ 2,600 ปี และพระธรรมคำสั่งสอนยังเป็นหลักธรรมในการดำเนินชีวิตที่จริงแท้ ซึ่งการได้น้อมเข้านมัสการในสังเวชนียสถาน จะทำให้ผู้ร่วมการแสวงบุญได้เห็นภาพแห่งความตั้งมั่นจนพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ สู่ปรินิพพาน และยังเห็นการสืบสานพระพุทธศาสนาไปยังทั่วโลกให้ประจักษ์ โดยประเทศไทยมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ
“นอกเหนือจากการได้แสวงบุญ ได้กราบนมัสการสังเวชนียสถานที่สำคัญ ในประเทศอินเดีย สิ่งหนึ่งที่ญาติโยมได้รับและเห็นมาตลอดเส้นทางนั่นคือการให้ทานกับผู้ยากไร้ที่จะขอเข้ามารับบริจาคจากกลุ่มคณะทัวร์ธรรม ซึ่งเดินทางมาจากหลายประเทศทั่วโลก เป็นหนึ่งในการแสดงออกในเรื่องของการละ วาง การให้ และมีเมตตาต่อผู้อื่น ซึ่งจะทำให้ผู้ร่วมเดินทางได้เห็นภาพจริง ได้เข้าใจวัฏจักรของโลก และเข้าใกล้กับพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งนอกเหนือจากการได้ทำบุญแล้ว ยังมีการให้ทาน เป็นอีกหนึ่งในวิถีชีวิตที่คงอยู่ณปัจจุบัน อาตมาตระหนักให้เห็นทุกรูปแบบทั้งประวัติความเป็น เส้นทางความเป็นไป และปัจจุบันที่ทุกท่านได้ร่วมเดินทาง อันสืบเนื่องส่งให้ให้ถึงการตระหนักรู้ ตื่นรู้ และเข้าใจ ธรรมะ ซึ่งก็คือธรรมธรรมชาตินั่นเอง” หลวงพี่น้ำฝนกล่าวปิดท้าย