ที่หอประชุมโรงเรียนท่าปลาประชาอุทิศ ต.ร่วมจิต อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ นายจักรพรรณ สุวรรณภักดี นายอำเภอท่าปลา นายกิตติกานต์ ทองแตง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลผาเลือด นายสุรินทร์ ปริมาณ นายกเทศมนตรีตำบลท่าปลา นายนันทสิทธิ์ โพธิ์งาม รองปลัด อบจ.อุตรดิตถ์ พร้อมด้วยนางสาวภัททิรา คำอภิวงศ์ รองผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานแพร่ รับมอบหมายดูพื้นที่ จ.อุตรดิตถ์ ผู้แทนจากเขื่นสิรืกิติ์ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนจาก ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์ ประธานกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ นายดนัย อู่ทรัพย์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอท่าปลา ร่วมกันแถลงข่าว การจัดงานมหกรรมของดีอำเภอท่าปลา ครั้งที่ 8 ประจำปี 2567
ในการจัดแถลงข่าวในวันนี้ การจัดงานดังกล่าวจัดขึ้นที่บริเวณลานอเนกประสงค์ข้างที่ว่าการอำเภอท่าปลา ระหว่างวันที่ 4-10 พฤศจิกายน 2567(ออกพรรษาแห่ผีตลก หนึ่งเดียวในโลก ที่อำเภอท่าปลา)โดยมีนายกิตติกานต์ ทองแตง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลผาเลือดเป็นเจ้าภาพหลัก และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ 1,000,000 บาท จาก องค์การบริหารส่วนจังหวัด 300,000 บาท การไฟฟ้าเขื่อนสิริกิติ์ 100,000บาท องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 9 แห่ง ,องค์กรปกครองส่วนท้องที่ทั้ง 7 ตำบล มอบงบประมาณในการร่วมจัดกิจกรรม ซึ่งมีนางสาวสุนันทา สุนทรารัณย์ บริจาค 10,000 บาท หน่วยงานพัฒนาชุมชน,เกษตร อ.ท่าปลา,กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอำเภอ ท่าปลา,ส่วนราชการ,ร่วมออกร้านแสดงวิถีคนท่าปลา นำเสนอของดีต่างๆของอำเภอท่าปลา ราษฎรที่อพยพจากพื้นที่อำเภอท่าปลาเก่า ก่อนการสร้างเขื่อน ในบูธวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นมีลานวัฒนธรรมของสภาวัฒนธรรมของอำเภอท่าปลา สกร.ร.ระดับอำเภอท่าปลาจัดบูธส่งเสริมการอ่านและส่งเสริมอาชีพท่าปลา
สำหรับชาวอำเภอท่าปลา ราษฎรที่อพยพจากพื้นที่อำเภอท่าปลาเดิม จากการสร้างเขื่อนสิริกิติ์เมื่อปีพ.ศ.2512 ประชาชนเคยดำรงชีวิตอย่างความสุขตามธรรมชาติ ตามคำกล่าวที่ว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ได้หายไปภายหลังที่ราษฎรขนย้ายครอบครัวของตนมาจับจองที่อยู่อาศัยตามที่รัฐจัดสรรให้ ขนบธรรมเนียมประเพณีประจำปี เช่น ประเพณีแห่ผีตลก ประเพณีตานก๋วยสลาก ประเพณีการขึ้นธาตุของคนท่าปลา ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีจุดบ้องไฟ ในเวลาสรงน้ำธาตุ คนท่าปลา ประเพณีต่างๆเหล่านี้ก็จางหายไปในช่วงที่อพยพมาสร้างบ้านแปงเมือง
งานมหกรรมของดีอำเภอท่าปลาเดิมชื่องานสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของดีอำเภอท่าปลา โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่น เผยแพร่และถ่ายทอดภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนรุ่นหลังรู้จักและเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นของตน เพื่อเป็นการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมประเพณีประจำท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ของดีอำเภอท่าปลาให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนและสร้างรายได้ไห้แก่ประซาชนและชุมชน เพื่อพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ OTOP ของอำเภอท่าปลาให้มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกร มีรายได้ จาการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้นการจัดกิจกรรมในงานเน้นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของดีอำเภอท่าปลา พิธีกรรมเข้าหัวผีตลกที่วัดท่าปลาในวันที่ 8 พฤศจิกายน มีขบวนวัฒนธรรมประจำถิ่นที่มีความโดดเด่นแต่ละท้องถิ่น การจัดบูธวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่นมีลานวัฒนธรรม การจัดเวทีเสวนาภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้านอำเภอท่าปลา การจัดบูธผ้าทอมือ จกด้วยขนเม่น “มรดกล้ำค่าของคนท่าปลาลายงูเหลือม” การจัดเดินแบบผ้าทอท่าปลาในลานวัฒนธรรมท่าปลา โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มาจัดบูธให้ความรู้เรื่องผ้าทออีกด้วย และยังมีลานสร้างสรรค์จัดประกวดดนตรีโฟล์ค
ประเพณีแห่ผีตลกอำเภอทำปลา ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมากว่าสองร้อยปี สภาวัฒนธรรมได้ขอนำเสนอผีตลก ของชาวอำเภอท่าปลามีการละเล่น 2 แบบ คือ คนท่าปลาเดิม ชาวตำบลท่าแฝก เรียกประเพณีแห่ผีขน นำมาละเล่นในการแห่นาคไปในชุมชนเพื่อไปขอกราบลากับผู้อาวุโสในชุมชน มีการแต่งผีตลกที่ชาวตำบลท่าแฝกเรียกอีกอย่างว่าผีขนส่วนอีกวิธีคือ ชาวตำบล หาดล้า ตำบลจริม ตำบลท่าปลา นำวิธีแห่ผีตลกมาใช้ในช่วงเทศการออกพรรษา คือก่อนออกพรรษา ชาวอำเภอปลาจะเข้าในป่าเพื่อตัดไม้ไผ่มาจักเป็นตอก มาสานเป็นหัวผีตลกและประดับประดาตกแต่งหัวผีให้น่ากลัว รวมถึงขอใช้ผ้าเหลืองของพระเก่ามาทำหัวผีตลก การดำเนินการทำหัวก่อนออกพรรษา 1วัน จะมีขบวนแห่หัวผีตลก วิธีปฏิบัติของคนที่จะสวมหัวผีก็จะนำหมากคำ พลูใบ และไข่ต้ม 1 ฟอง เข้าไปอัญเชิญผีมาเข้าเพื่อแห่ไปในหมู่บ้านเมื่อ ชาวบ้านเห็นขบวนแห่ผีตลก จะช่วยกัน ตัดต้นกล้วย ต้นอ้อย ต้นข่า ต้นกุ๊ก ต้นดอกไม้มากองไว้ที่หน้าบ้านข้างทางเพื่อให้ทางคณะกรรมการที่ไปร่วมขบวนแห่ได้เก็บเอามาที่วัดเพื่อนำมาประดับประดาศาลาการเปรียญให้เป็นป่าหิมพานด์และเทศน์มหาชาติ
ขบวนวัฒนธรรมมีขบวนของดีวิถีพอเพียง คนร่วมจิต ของ อบต.ร่วมจิต,ขบวนประเพณีวันสงกรานต์ อบต.ท่าปลา.ขบวนท่าปลาที่รัก ของ ทต.ท่าปลา,ขบวนดินแดนมะม่วงหิมพานต์ ของ อบต.หาดล้า ประเพณีการละเล่นพื้นบ้าน ประเพณีแห่ผีตลกทั้ง 9 ท้องถิ่น,ขบวนสักการะปูพญาแก้ววงศ์เมือง ของ อบต.น้ำหมัน วิถีชีวิตชาวตำบลนางพญา ของ อบต.นางพญา ขบวนมนต์เสน่ห์ร่วมจิต ของอบต.ร่วมจิต, และขบวนวิถีชีวิตคนผาเลือด ของ อบต.ผาเลือด ซึ่งเป็นเจ้าภาพปีนี้
ในงานปีนี้มีการจัดกิจกรรมการประกวด คนตรีโฟล์ค, เดินแบบผ้าทอท่าปลา, ประกวดอาหารพื้นถิ่นท่าปลา การประกวดร้องเพลงไทยลูกทุ่ง, ประกวดนางงามวัฒนธรรม, ออกร้านขายสินค้า OTOP ของดีอำเภอท่าปลา สนับสนุนโดยเขื่อนสิริกิดิ์, ร้านค้าชายสินค้าของดีอำเภอท่าปลา พัฒนาชุมชน,เกษตรอำเภอ,และกลุ่มวิสาหกิจชุมชมชนจัดแสดงสินค้า, เทศบาลตำบลท่าปลาจัดขายอาหารแบบพื้นเมือง ขายอาหารแบบขันโตกจำหน่ายภายในงาน, มีการแข่งขันกีฬาเซปัคตระกร้อ เพื่อส่งเสริมเด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ห่างไกลยาเสพติด กิจกรรมบันเทิง การแสดงแสง สี เสียง ,พิธีเปิดงานมีการรวมพลังนางรำจากทุกพื้นที่กว่า 500 ชีวิต กับเพลงรำวงท่าปลาบ้านเรา มี ดนตรี มวยไทย,เอกลักษณ์ของชาวท่าปลาที่นำเสนอในงานสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของดีอำเภอท่าปลาการแสดงแสง สีเสียง สื่อผสม ชุด “ท่าปลา นครแห่งรักอันบริบูรณ์” โดยทีมงานจากสาขานาฎศิลป์ไทยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาภัยราชภัฏอุตรดิตถ์ , ร่วมกับสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์บูธแสตงสินค้า OTOP ของดีอำเภอท่าปลา มะม่วงหิมพานต์,ผลิตภัณฑ์ปลา,ปลาซิวแก้ว,ปลาย่าง,ปลาร้า, งานจักสานไม้ไผ่,ไม้กวาด,
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประชาชนได้รับการฟื้นฟู วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ให้คงอยู่สืบไปเพื่อการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาวท่าปลาให้คงอยู่ยั่งยืนต่อไป ประชาชนชาวท่าปลามีกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้น สร้างรายได้ให้กับชาวท่าปลาเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดขึ้น
ณัฐวัฒน์ ราชประสิทธิ์ ภาพ/ข่าวอุตรดิตถ์