Statistiche web
เชียงใหม่ สำนักงานชลประทานที่ 1 วางแผนจัดการเรื่องน้ำ แก้ปัญหาภัยแล้ง

ที่ อาคารอเนกประสงค์ สำนักงาน.ชลประทานที่ 1 นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มอบหมายให้ นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงแผนการบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้ง ปี 2568 ของพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบน (จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน) โดยมี นายชาตรี ธินนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน นายอัฏฐวิชย์ นาควัชระ ผู้อำนวยการ สำนักงานชลประทานที่ 1 หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วน เข้าร่วมการประชุม.

ทั้งนี้ สำนักงานชลประทานที่ 1  มีพื้นที่ครอบคลุมในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน โดยมีแม่น้ำปิงเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่ใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วนในพื้นที่ การประชุมดังกล่าวจึงจัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นผู้แทนกลุ่มผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วน รวมถึงหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ได้ทราบถึง สถานการณ์น้ำในปัจจุบัน ,แผนการส่งน้ำ,มาตรการการใช้น้ำชลประทาน ,แผนการให้ความช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยแล้ง และการมีส่วนร่วมในการเสนอ ข้อคิดเห็น/กำหนดแผนการส่งนําและกติกาการใช้น้ำชลประทานในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบนร่วมกัน เพื่อให้การบริหารจัดการนําตลอดช่วงฤดูแล้ง เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ เพียงพอ ทั่วถึงและเป็นธรรม กับผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วน.

สำหรับแผนการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งปี 2568 สำนักชลประทาน ที่ 1 ออกแผนการบริหารจัดการน้ำ โดยแบ่งการจัดสรรเป็น 5 ข้อ คือ 1.จัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคในช่วงฤดูแล้ง 2.จัดสรรน้ำเพื่อการรักษาระบบนิเวศในช่วงฤดูแล้ง 3.สำรองน้ำไว้สำหรับการใช้น้ำในช่วงต้นฤดูฝนเพื่ออุปโภค บริโภค และรักษาระบบนิเวศ เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 4.จัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรกรรม และ 5.จัดสรรน้ำเพื่อการอุตสาหกรรม พร้อมออก 8 มาตรการรองรับฤดูแล้ง 8 มาตรการ ได้แก่ 1.คาดการณ์และป้องกันพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ 2.สร้างความมั่นคงน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรพร้อมปฏิบัติการเติมน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ 3.กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้งเพื่อบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด 4.เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำประหยัดน้ำและลดการสูญเสียน้ำในทุกภาคส่วน 5.เฝ้าระวังและแก้ไขคุณภาพน้ำ 6.เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชนองค์กรผู้ใช้น้ำ 7.สร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์ และ 8.ติดตามประเมินผลการดำเนินการ .

Share This