พลตรี ประภาส แก้วศรีงาม หัวหน้าคณะทำงางานด้านกิจการพลเรือน กองทัพบกให้เกียรติมาเป็นประธาน พิธีเปิดตรวจสภาพความพร้อมด้านการบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย มณฑลทหารบกที่ ๔๔ และผู้เข้ารับการตรวจ สภาพความพร้อม ด้านการบรรเทาสาธารณภัย ของศูนย์ บรรเทาสาธารณภัย มณฑลทหารบกที่ ๔๔/ ทุกนาย
พันเอกหญิง ประภาศรี ตัณศิลา ประจำ มณฑลทหารบกที่ ๔๔ รักษาราชการแทน หัวหน้ากอง กิจการพลเรือน/ มณฑลทหารบกที่ ๔๔ กล่าว่า จากสถานการณ์ห้วงเดือนตุลาคม/ ถึงมกราคม ของทุกปี ภาคใต้จะมีฝนตกซุก โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากได้รับอิทธิพล ของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ นำพาความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้าปกคลุม ประกอบกับการคาดหมาย สภาพอากาศ ของกรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งว่าจะมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ ๖๐ – ๗๐ ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมาก โดยเฉพาะตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ซึ่งจะก่อให้เกิดสภาวะ น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งในบางพื้นที่ ดังนั้น ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย/ มณฑลทหารบกที่ จึงกำหนดตรวจสภาพความพร้อม ด้านการบรรเทาสาธารณภัย เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่อาจเกิดขึ้น ในพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยต่างๆ ๑. ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย/ มณฑลทหารบกที่ ๔๔ ๒. ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองพันทหารราบที่ กรมทหารราบที่ ๒๕ ๓. ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองพันทหารราบที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๒๕ ๔. ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย/ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๒๕ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๕ โดยมีกำลังพล จำนวน 103 นาย พร้อมด้วยยุทโธปกรณ์ และยานพาหนะ จำนวน 15 คัน เข้าร่วมการตรวจ สภาพความพร้อมฯ ในครั้งนี้
พลตรี ประภาส แก้วศรีงาม เปิดเผยว่า กระผมรู้สึกเป็นเกียรติ และมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง มาเป็นประธาน/ ในพิธีเปิดตรวจสภาพความพร้อม ด้านการบ สาธารณภัย มณฑลทหารบกที่ ๔๔ ในวันนี้ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ลักษณะของฝน มีความรุนแรงมากขึ้น และเกิดภาวะฝนตกหนัก ย่อมส่งผลทำให้เกิดอุทกภัย และภัยด้านดินถล่มตามมาในพื้นที่เสี่ยงภัย ที่ลาดขันเชิงเขา เป็นปรากฏการณ์ดินถล่ม รวมถึงภัยแล้งจากภาวะ ฝนทิ้งช่วง และฝนตกน้อยกว่าปกติ ล้วนเป็นกันกักคาม ที่ส่งผลกระทบ ต่อเศรษฐกิจ ตลอดจนความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนด้วยเหตุนี้ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย มณฑลทหารบกที่ ๔๔ จึงได้กำหนดให้มีการตรวจสภาพความพร้อม ด้านการบรรเทาสาธารณภัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูง รวมไปถึงประชาชน ได้รับรู้รับทราบถึงด้านความพร้อม ในการให้การช่วยเหลือ สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณ หรือตัวชี้วัดสำคัญ ที่บอกได้ว่า การแก้ปัญหาภัยพิบัติ อุทกภัย ภัยแล้ง ในพื้นที่จังหวัดชุมพร และ จังหวัดระพอง จะต้องประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน สุดท้ายนี้ กระผมขอขอบคุณ ผู้เข้าร่วมพิธีทุกท่าน ที่สลละเวลา อันมีค่า มาร่วมตรวจความพร้อม ได้พบปะแลกเปลี่ยน ประสบการณ์/ และความรู้ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ในครั้งนี้
ประสิทธิ์ ลีฬหคุณากร/ชุมพร