Statistiche web
เชียงใหม่ ชี้แจงเหตุเกิดจุดความร้อนที่ อ.ดอยเต่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้ละเลย ยังปฏิบัติภารกิจดับไฟในพื้นที่ตลอดเวลา

ที่ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จังหวัดเชียงใหม่ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มอบหมายให้ นายศิวกร บัวป้อง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประชุมร่วมกับส่วนราช หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการติดตามสถานการณ์หมอกควันไฟป่า รวมถึงการดำเนินงานของดาวเทียมตรวจสอบจุดความร้อนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่.

โดยวันนี้ ดร.สุรัสวดี ภูมิพานิช ผู้แทนจากสำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ GISTDA ก็ได้เปิดเผยว่าการใช้ข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อรายงานจุดความร้อนในปัจจุบัน GISTDA ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมที่มีชื่อว่า  MODIS, Suomi NPP, NOAA-20 และ NOAA-21 ซึ่งจะมีการส่งข้อมูลทั้งหมด 10 ครั้ง โดยข้อมูลทั้งหมดจะเป็นข้อมูลแบบ Near Realtime คือใกล้เคียงกับเวลาจริง เร็วที่สุดอยู่ที่ประมาณ 30-40 นาที จากเวลาที่รับข้อมูล และจะรายงานผลออกมาเป็น 2 แบบ คือ การรายงานรายครั้ง 10 ครั้งต่อวัน เพื่อติดตามสถานการณ์ และการรายงานแบบรายวันเพื่อเก็บสถิติ โดยสามารถติดตามได้ผ่านทางทางเว็บไซต์ของทางจิสด้า ซึ่งจะมีข้อมมูลทั้งรายครั้ง รายวัน และรายสัปดาห์ แต่การตรวจจับจุดความร้อนจะมีหลักเกณฑ์คือ บริเวณนั้นๆจะต้องมีอุณหภูมิที่สูงถึงเกณฑ์ที่กำหนดถึงจะสามารถตรวจจับได้ .

ขณะที่ นายเพิ่มศักดิ์ ศรีสวัสดิ์ นายอำเภอดอยเต่า  ได้ชี้แจงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวานที่ผ่านมา (9 ก.พ. 68) ที่มีการเกิดจุดความร้อนในพื้นที่ของอำเภอดอยเต่า จนเป็นกระแสในสื่อออนไลน์และสร้างความตื่นตระหนกให้กับพี่น้องประชาชนนั้น ว่าขณะที่เกิดเหตุมีเจ้าหน้าที่ของทางอำเภอเข้าไปทำการดับไฟและปฏิบัติการควบคุมไฟอยู่ในพื้นที่ตลอด ไม่ได้มีการละเลยการปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด จนกระทั่งสามารถควบคุมไฟไว้ได้ เหลือเพียงกลุ่มควันที่ลอยขึ้นไปในอากาศเท่านั้น พร้อมกับเปิดเผยว่าผ่านมาเจ้าหน้าที่ได้มีการวางแผนและออกลาดตระเวนเชิงรุกในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่แล้วลักษณะของป่าในพื้นที่อำเภอดอยเต่ามีทั้งป่าอนุรักษ์ ป่าสงวน หลากหลายชนิด ซึ่งแต่ละพื้นที่เป็นหุบเขาสูงชัน จะต้องเดินเท้าไกล 2-3 กิโลเมตร กว่าจะถึงจุดที่เกิดจุดไฟ ทำให้การดำเนินงานและการเข้าพื้นที่แต่ละครั้งค่อนข้างมีความยากลำบากและต้องใช้เวลานานพอสมควร แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ยังคงปฏิบัติการอย่างเข้มข้นต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงก่อนเข้าสู่สถานการณ์จนกระทั่งเข้าสู่สถานการณ์ในขณะนี้ โดยวิธีการดำเนินงานตรวจสอบจุดความร้อนในพื้นที่นั้นจะมีทั้งการลาดตระเวนเชิงรุกในพื้นที่ การจัดเวรยามสังเกตการณ์จากจุดสูง และการติดตามจากแอพพลิเคชั่นตรวจสอบจุดความร้อนของทางจิสด้า แต่เนื่องจากบางพื้นที่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์จึงไม่สามารถติดตามจุดความร้อนผ่านทางแอพพลิเคชั่นได้ จึงจำเป็นต้องมีการเดินเท้าลาดตระเวรเข้ามาเสริมในการปฏิบัติงานด้วย

ด้านนายสมนึก ท้าวพา ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและรักษาป่าและควบคุมไฟป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 ระบุว่า การดำเนินงานที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ไม่เคยรอจุด Hotspot จากระบบของจิสด้าเพียงอย่างเดียว แต่ใช้วิธีการออกลาดตระเวนทั้งทางเท้า ทางรถยนต์ และรถมอเตอร์ไซต์ หรือรับแจ้งจากประชาชนที่พบเห็นมาทำควบคู่ไปด้วยกัน โดยเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างหนักในช่วงที่เข้าสู่สถานการณ์ ออกปฏิบัติการตลอดเวลาอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อให้เรารู้จุดความร้อนที่เกิดไวขึ้นและทำการเข้าไปดับไฟให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ดูแลพี่น้องประชาชนให้ดีที่สุด

นายศิวกร บัวป้อง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้ให้ความสำคัญแค่เพียงการป้องกันและดับไฟป่าเพียงอย่างเดียว ยังได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันในมิติอื่นๆ ด้วย อาทิ การตรวจจับควันดำ การปล่อยมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือแม่แต่การกวาดล้างถนน เพื่อให้การแก้ไขปัญหาดีขึ้นในทุกมิติ พร้อมทั้งยังได้เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัดต่อเนื่องตลอดการเผชิญเหตุ โดยยึดความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่เป็นสำคัญ

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่

[dsm_icon_divider use_icon=”on” font_icon=”||divi||400″ use_icon_font_size=”on” icon_font_size=”25px” divider_style=”dashed” _builder_version=”4.25.2″ _module_preset=”default” module_alignment=”center” global_colors_info=”{}”][/dsm_icon_divider]
[dsm_blog_carousel posts_number=”20″ posts_offset=”1″ include_categories=”3,5,4″ use_date=”off” use_category=”on” use_author=”off” use_readmore=”on” readmore_text=”อ่านเพิ่ม…” post_equal_height=”on” _builder_version=”4.25.2″ _module_preset=”default” title_font_size=”25px” min_height=”482px” custom_margin=”||639px||false|false” custom_padding=”||340px|||” global_colors_info=”{}”][/dsm_blog_carousel]