Statistiche web
จ.ตรัง เปิดยิ่งใหญ่ ม.อ. เจ้าภาพจัดประกวดออกแบบนวัตกรรม แก้ปัญหาพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง YICMG 2024

สำนักงานวิทยาเขตภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ม.สงขลานครินทร์ ร่วมกับ Fudan University สาธารณรัฐประชาชนจีน เปิดโครงการประกวดนวัตกรรมเยาวชนด้านธรรมาภิบาลและการพัฒนาในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง ครั้งที่ 8 The 8th Youth Innovation Competition on Lancang-Mekong Region’s Governance and Development (YICMG 2024) โดยมี ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ Prof. Dr. Zhou Lei, Vice President, Fudan University กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย แขกผู้มีเกียรติ คณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในประเทศลุ่มแม่น้ำโขงกว่า 200 คน ซึ่งก่อนเปิดงานมีการแสดงจากคณะนาฏศิลป์ Yushu Dance Troupe และ Shanghai Conservatory of Music และการแสดงชุดมโนราห์ ร่วมพิธีเปิดในครั้งนี้อีกด้วย

การประกวดนวัตกรรมเยาวชนด้านธรรมาภิบาลและการพัฒนาในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง The Youth Innovation Competition on Lansang – Mekong Region’s Governance and Development (YICMG) เป็นการประกวดออกแบบนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาในมิติต่าง ๆ บนพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษา ไม่จำกัดคณะ ชั้นปี ของมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในประเทศลุ่มแม่น้ำโขงรวม 6 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน สหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ราชอาณาจักรไทย และราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้การสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนหลายหน่วยงานของจีน โดยมี Fudan University สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นผู้ดำเนินการหลัก พร้อมกับมหาวิทยาลัย อีก 2 แห่งในจีน คือ Qinghai University และ Guangxi University of Finance and Economics ร่วมดำเนินโครงการ โดยได้จัดการแข่งขันครั้งแรกในปี 2559 ณ เขตปกครองตนเองชนชาติทิเบตอวี้ซู่ (Yushu Tibetan Autonomous Prefecture) มณฑลชิงไห่ สาธารณรัฐประชาชนจีน

สำหรับการประกวดนวัตกรรมเยาวชนด้านธรรมาภิบาลและการพัฒนาในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง ในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 8 ซึ่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับเกียรติร่วมเป็นเจ้าภาพ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-13 กรกฎาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เพื่อเป็นเวทีนานาชาติในการแลกเปลี่ยนความรู้ของนักศึกษาประเทศต่าง ๆ ในลุ่มแม่น้ำโขง สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยในลุ่มแม่น้ำโขง อันนำไปสู่การกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

 ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีส่วนร่วมในการแข่งขันโครงการ YICMG ตั้งแต่การจัดการแข่งขันในครั้งที่ 1 โดยนักศึกษาให้ความสนใจและสมัครเข้าส่งผลงานในทุกปี และได้รับรางวัลต่าง ๆ อาทิ รางวัลชนะเลิศประเภท The Best Multi-national Team ในปี 2559 รางวัล The Best Incubation ในปี 2561 รางวัล The Best Creative Award ในปี 2564 และล่าสุดได้รับรางวัล The Most Valuable Question และ รางวัล The Most Creative Team จากการแข่งขันครั้งที่ 7 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา

นอกจากการส่งนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันในทุก ๆ ปีแล้ว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยังส่งอาจารย์เข้าร่วมโครงการ YICMG ในฐานะ Expert อีกด้วย โดยมีหน้าที่หลักในการให้ความรู้ คำแนะนำ ข้อคิดเห็นต่อผลงานของนักศึกษาจากทุกทีมและทุกประเภทที่เข้าร่วมการแข่งขัน อีกทั้งยังร่วมกับ Expert จากประเทศอื่น ๆ ในการลงคะแนนตัดสินผลงานของผู้เข้าประกวด

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยังได้ร่วมลงนามใน MOU กับ Fudan University และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทั้ง 6 ประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ณ Fudan University เมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในการสร้างความร่วมมือขับเคลื่อนโครงการ YICMG โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับการพิจารณาให้จัดตั้งศูนย์ YICMG ซึ่งจะเป็นศูนย์บริการในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับสภาวะและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงของประเทศไทย โดยจัดตั้ง ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง อีกด้วย

ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บอกว่า การประกวดนวัตกรรมเยาวชนด้านธรรมาภิบาลและการพัฒนาในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง The Youth Innovation Competition on Lansang – Mekong Region’s Governance and Development (YICMG) เป็นการประกวดออกแบบนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาในมิติต่าง ๆ บนพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษา ไม่จำกัดคณะ ชั้นปี ของมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในประเทศลุ่มแม่น้ำโขงรวม 6 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน สหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ราชอาณาจักรไทย และราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้การสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนหลายหน่วยงานของจีน โดยมี Fudan University สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นผู้ดำเนินการหลัก พร้อมกับมหาวิทยาลัย อีก 2 แห่งในจีน คือ Qinghai University และ Guangxi University of Finance and Economics ร่วมดำเนินโครงการ โดยได้จัดการแข่งขันครั้งแรกในปี 2016 ณ เขตปกครองตนเองชนชาติทิเบตอวี้ซู่ (Yushu Tibetan Autonomous Prefecture) มณฑลชิงไห่ สาธารณรัฐประชาชนจีน

 สำหรับการประกวดนวัตกรรมเยาวชนด้านธรรมาภิบาลและการพัฒนาในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง ในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 8 ซึ่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับเกียรติร่วมเป็นเจ้าภาพ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-13 กรกฎาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เพื่อเป็นเวทีนานาชาติในการแลกเปลี่ยนความรู้ของนักศึกษาประเทศต่าง ๆ ในลุ่มแม่น้ำโขง สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยในลุ่มแม่น้ำโขง อันนำไปสู่การกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน YICMG ครั้งที่ 5 ประจำปี 2020 โดยคณะทำงานทั้งจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะทำงานจากมหาวิทยาลัยฟู่ต้านได้ร่วมกันเตรียมการจัดงานเกือบแล้วเสร็จ 100% ทั้งในส่วนของพื้นที่จัดการแข่งขัน การประชุม ที่พัก และอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อใกล้ช่วงเวลาการจัดการแข่งขัน การระบาดของโรคโควิด 19 ก็เริ่มต้นขึ้น ในขณะนั้นประเทศจีนกำลังจะมีนโยบายปิดประเทศ และจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศไทยเองก็กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นคณะทำงานจากทั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยฟู่ต้าน จึงมีมติร่วมกันเพื่อเลื่อนการเป็นเจ้าภาพออกไปจนกว่าสถานการณ์ของโรคระบาดจะคลี่คลาย การแข่งขันในครั้งที่ 5 ประจำปี 2020 จึงถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นการแข่งขันออนไลน์ โดยมหาวิทยาลัยฟู่ต้านในฐานะผู้ประสานงานหลักได้ดำเนินการจัดการแข่งขันด้วยตนเอง ซึ่งเลื่อนไปแข่งในปี 2021 และได้ใช้รูปแบบการแข่งขันออนไลน์ในลักษณะนี้อีก 1 ปี คือในการแข่งขันครั้งที่ 6 ประจำปี 2022 และในปีนี้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดแข่งขัน YICMG ครั้งที่ 8 ประจำปี 2024 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านพื้นที่ อาคาร สถานที่ที่เอื้อต่อการจัดการแข่งขัน เช่น ห้องประชุมที่มีหลายขนาด ตามรูปแบบการใช้งานที่ต้องการ ที่พักอาศัยสำหรับคณะทำงาน PSU Lodge โรงแรมที่พักสำหรับผู้เข้าร่วมการแข่งขัน และแขก VIP จากทุกชาติสมาชิก ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากพื้นที่วิทยาเขตภูเก็ต อีกทั้งยังมีอาจารย์ บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดโครงการระดับนานาชาติกระจายอยู่ในทุกวิทยาเขต ซี่งสามารถร่วมมือกันเพื่อเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ได้

สำหรับการแข่งขัน YICMG ครั้งที่ 8 ประจำปี 2024 มหาวิทยาลัยสงขลานคนรินทร์ มีความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพ พร้อมต้อนรับนักศึกษาและเจ้าหน้าที่จากมหาวิทยาลัยในประเทศลุ่มแม่น้ำโขง จำนวนกว่า 200 คน ที่จะเข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีที่มหาวิทยาลัยฯ ในการฝึกฝนนักศึกษาให้มีทักษะสากล ผ่านการเรียนรู้จากการทำงานจริงในระดับนานาชาติ และมั่นใจในศักยภาพและความพร้อมทุกด้านต่อการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในครั้งนี้ 

ทั้งนี้การต้อนรับ บุคลากรนักศึกษา และผู้แทนจากสถานทูตต่างๆ ถือเป็นศักยภาพของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และประเทศไทย ที่สามารถเป็นเจ้าภาพได้ เราเองก็ได้ไปร่วมในหลายๆประเทศ เขาก็ทำดี ถึงคราวเราเป็นเจ้าภาพเราก็ต้องทำเต็มที่ ก็รู้สึกภาคภูมิใจกับงานที่ได้เตรียมกันมา ทีมงานก็เหนื่อย กับการประสานงาน ทั้ง 6 ประเทศ แต่ถือว่าเป็นการทำงาน ที่ได้เรียนรู้และประสบการณ์ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นทุกประสบการณ์มีคุณค่า ทั้งนักศึกษาและบุคลากร และที่สำคัญเราเชื่อมั่นถึงมิตรไมตรี ของกลุ่มประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงทั้ง 6 ประเทศ ถือเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่าของพวกเรา ก็ต้องขอขอบคุณสื่อมวลชน ที่ได้มาทำข่าวนำเสนอ ส่งสิ่งดีๆให้สู่สังคม ได้เห็นถึงมิตรภาพ ในความตึงเครียดในหลายๆภูมิภาค เราก็อยากให้พื้นที่เอเชีย ของเราเป็นพื้นที่สงบ ร่มเย็นมีคนอยากมาอยู่ มีความร่วมมือมีมิตรไมตรี ที่ดีงามซึ่งเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ เป็นแรงบันดาลใจ ให้เกิดโครงการเช่นนี้อีกในหลายพื้นที่

@chaijexu

จ.ตรัง เปิดยิ่งใหญ่ ม.อ. เจ้าภาพจัดประกวดออกแบบนวัตกรรม แก้ปัญหาพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง YICMG 2024

♬ เสียงต้นฉบับ - Chaij Exu - Chaij Exu

ภาพ-ข่าว  สุนิภา หนองตรุด ผู้สื่อข่าว จ.ตรัง

Share This